เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย (Understanding Goal):
เข้าใจและรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ร่วมทั้งช่วยเหลือตัวเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข เห็นความสำคัญและความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคล แต่ละอาชีพที่มีอยู่ในสังคม

week6


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถแสดงความเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับครอบครัวของหนูบอกความเหมือน/ความแตกต่างของแต่ละแต่ละครอบครัว และบุลคลในครอบครัวมีใครบ้าง และสำคัญกับเราอย่างไรบ้าง
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
โจทย์:
ครอบครัวของหนู
Key Questions
-นักเรียนคิดว่าครอบครัวสำคัญอย่างไรบ้าง
-ครอบครัวของนักเรียนมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนเองอย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวมีความสำคัญกับเด็กอย่างไร
Blackboard Share : เด็กๆจะทำอย่างไรถ้าเราไม่มีครอบครัว
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในโรงเรียน
บรรยากาศภายในโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “  บ้านกลางสวน
 - นิทานเรื่องครอบครัวของโอเว้น
  -นิทานเรื่อง “  ครอบครัว หึ่ง หั่ง ”      















วัน จันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
-ครู เล่านิทานเรื่อง  “ บ้านกลางสวน”
-ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ในครอบครัวของเด็กๆมีใครบ้าง ”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวของนักเรียนมีใครบ้าง
ใช้:
นักเรียนแต่ Web ครอบครัวของหนูมีใครบ้าง
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง :
ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเล่านิทานเรื่อง  “ ครอบครัวของโอเว้น”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
" นักเรียนคิดว่าทำไมเราถึงมีครอบครัว
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของคนในครอบครัวของนักเรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนอยากทำอะไรเพื่อที่จะให้ครอบครัวของเรามีความสุข
ใช้ :
นักเรียนประดิษฐ์พวงกุญแจรูปคน
วันพุธ
ชง :
ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเล่านิทานเรื่อง  “ ครอบครัวแสนสุข”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดถ้าวันหนึ่งนักเรียนไม่มีครอบครัวจะเป็นอย่างไร?
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นเกี่ยวกับภาพและนิทานที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับครอบครัวของหนูมีใครบ้างและสมาชิกแต่ละคนมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
ใช้ :
นักเรียนปั้นดินน้ำมันครอบครัวของหนู
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง :
ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเล่านิทานเรื่อง ครอบครัว หึ่ง หึ่ง”
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจฟาร์มของพี่สัตว์ต่างๆและสถานที่ภายในโรงเรียนว่าเหมือนหรือแตกต่างกับครอบครัวของนักเรียนอย่างไร
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นครอบครัวของพี่สัตว์มีใครบ้าง”
-ถ้าในครอบครัว ไม่มีคุณพ่อ คุณแม่ เด็กๆคิดว่าจะเป็นอย่างไร
ครูและนักเรียนเดินสำรวจบ้านของพี่สัตว์ว่าเขาอยู่กันเป็นครอบครัวเหมือนหรือต่างกันกับครอบครัวของนักเรียนอย่างไร?
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจฟาร์มและสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียน
ใช้ :
นักเรียนประดิษฐ์กรอบรูปครอบครัวของหนู
ชิ้นงาน
-แตก web ครอบครัวของหนู
- ประดิษฐ์พวงกุญแจรูปคน
 -ปั้นดินน้ำมันครอบครัวของหนู
-ประดิษฐ์กรอบรูปครอบครัวของหนู
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวของหนู
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับถ้าเราไม่มีครอบครัวนักเรียนจะทำอย่างไร
- พูดคุยเกี่ยวกับครอบครัวของนักเรียนมีความสำคัญอย่างไร
- พูดคุยเกี่ยวกับที่ได้เห็นจากการเดินสำรวจครอบครัวของพี่สัตว์ว่าเหมือนหรือต่างกับครอบครัวของนักเรียนอย่างไรบ้าง

ความรู้ :
นักเรียนสามารถแสดงความเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับครอบครัวของหนูบอกความเหมือน/ความแตกต่างของแต่ละแต่ละครอบครัว และบุคคลในครอบครัวมีใครบ้าง และสำคัญกับเราอย่างไรบ้าง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูภาพยนตร์และคลิป รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สิ่งต่างๆโดยรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตจากการเดินสำรวจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่า
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
- อธิบายสิ่งที่อยากเรียนรู้อย่างมีเหตุผล
ทักษะการแก้ปัญหา
จัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
คุณลักษณะ 
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
-รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เครารพตนเอง  และผู้อื่น
- มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเอง


วันศุกร์(1ชั่วโมง)
ชง
- ครูนำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้มาให้นักเรียนสังเกตเช่น
(แผงไข่ ต้นหอม)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ?” “สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง?
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการปลูกต้นหอมไร้ดิน
ใช้
- ครูและนักเรียนร่วมกันปลูกต้นหอม










ตัวอย่างกิจกรรม



























ตัวอย่างชิ้นงาน











1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    ในสัปดาห์ที่ 6 น้องอนุบาล 1 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ครอบครัวของตัวเอง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ในครอบครัวของนักเรียนมีใครบ้าง?
    น้องกาแฟ : คุณพ่อคุณแม่ครับ น้องหนูยิ้ม : คุณพ่อคุณแม่แล้วก็พี่ค่ะ น้องสายไหม : มีคุณตาคุณยายด้วยค่ะ น้องอ๋อมแอ๋ม : ครอบครัวหนูมีคุณย่าด้วยค่ะ
    น้องใบพลู : ครอบครัวหนูมีคุณป้าด้วยค่ะ นักเรียนวาดรูปสมาชิกคนในครอบครัวของตนเองว่ามีใครบ้าง นักเรียนปั่นดินน้ำมันครอบครัวของหนูและนำเสนอให้ครูและเพื่อนฟังว่าในครอบครัวของนักเรียนแต่ละคนมีใครบ้าง ครูให้การบ้านให้นักเรียนนำรูปภาพครอบครัวของตนเองมา ในวันต่อมาครูและนักเรียนร่วมกันทำกรอบรูปจากกล่องลัง
    ผู้ปกครองอาสาในสัปดาห์นี้ ร่วมทำกิจกรรมเทศกาลขนมแห่รัก ได้พานักเรียนทำขนมโค นักเรียนต่างสนุกสนานในการปั่นแป้งในวันศุกร์ นักเรียนร่วมกันทดลองปลูกหอมไร่ดิน ในสัปดาห์นี้ทุกคนทำได้เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ